วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Sponge cake

Sponge cake

สปองค์เค้กเป็นเนื้อเค้กพื้นฐานที่นิยมมาทำเค้กตกแต่ง
แบบอื่นๆมากมายครับ

สูตรนี้จะเป็นเค้กขนาด 3 ปอนด์ 1 ลูก หรือใช้พิมพ์เค้กกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 1/2 นิ้ว ถึง 9 นิ้ว ผมจะให้ไว้สองสูตรนะครับ ชอบแบบไหนก็ลองทำกันดูครับ มาดูสูตรแรกก่อนนะครับ


 สปองค์เค้กสูตร 1 
    ไข่ ไก่ 280 กรัม ( ประมาณ 5 ฟองครับ ตอกไข่แล้วชั่งน้ำหนักนะครับไม่ใช่ชั่งทั้งเปลือก)    น้ำตาลทราย 180 กรัม    แป้งเค้ก ร่อนแล้ว 180กรัม   เนย สดละลาย 60 กรัม และกลิ่นวานิลลา 1 ช้อนชา ( หากต้องการเป็นสปองค์ช็อคโกแลต ให้ลดแป้งเค้ก 60 กรัมแล้วแทนที่ด้วยผงโกโก้ 60 กรัมนะครับ ร่อนรวมกันกับแป้งเค้กครับ )
สปองค์เค้กสูตรที่สอง สูตรนี้จะใช้ไข่ไก่มากกว่านะครับ
   ไข่ไก่ 5 ฟอง ไข่แดง 2 ฟอง น้ำตาลทราย 170 กรัม  แป้งเค้ก ร่อนแล้ว 130 กรัม        แป้งข้าวโพด 30 กรัม น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ นมสด 3 ช้อนโต๊ะ ( เช่นกันครับ ในสูตรนี้หากต้องการเปลี่ยนเป็นรสช็อคโกแลต ก้อให้ตัดแป้งข้าวโพดออก แล้วแทนที่ด้วยผงโกโก้ในปริมาณที่เท่ากันครับ )
   เริ่มต้นด้วยการเปิดเตาอบก่อนเลยครับ ตั้งอุณหภูมิที่  180 องศาเซลเซียส ควรจะเปิดเตาให้ร้อนก่อนนะครับ ไม่ใช่ตีเค้กเสร็จแล้วมารอเตาร้อน อย่างนั้นขนมยุบแน่นอนครับ เสร็จแล้วมาเตรียมพิมพ์เค้กกัน
ให้ทาไขมันเนย จะเป็นเนยขาวหรือเนยสดก็ได้ครับ ให้ทั่วพิมพ์ทั้งก้นพิมพ์และขอบข้าง จากนั้นให้ใช้แป้งลงไปกลอกทั่วพิมพ์ ให้แป้งเคลือบเกาะติดภายในพิมพ์จนหมดนะครับ ไม่งั้นอบเค้กมาสวยๆ มาตายตอนจบคือ เคาะเค้กไม่ออก หรือไม่ก็เคาะออกมาบางส่วน เสียดายแย่เลยครับ
นำไข่ไก่ลงไปตีพร้อมกับน้ำตาลทรายครับ ใช้หัวตีตะกร้อตีนะครับ เพื่อให้อากาศเข้าไปผสมกับไข่ไก่ ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 7-15 นาที แล้วแต่กำลังของเครื่องตีครับ แต่ถ้าใช้มือตีเหรอครับ? ก็แค่ 20 นาทีเท่านั้นเอง
บางท่านอาจจะไม่สะดวกที่ จะนั่งจับเวลา ก็อาศัยสังเกตเอาครับ เมื่อไข่ไก่ฟูเต็มที่แล้วจะมีลักษณะนี้ครับ ขั้นนี้เค้าเรียกว่า Ribbon Stage  ส่วนผสมจะมีลักษณะขาวข้นเป็นครีม
ดูให้ชัดๆอีกครับ ส่วนผสมจะเปลี่ยนจากสีไข่ไก่ไปเป็นสีขาวครีม มีลักษณะข้นจนสามารถลากเป็นเส้นได้ ตรงนี้สำคัญมากครับ เพราะถ้าตีไม่ถึงจุดนี้ โอกาสเค้กยุบมีสูงมาก แต่หากตีมากเกินไปก็มีโอกาสยุบได้เช่นกัน เปรียบเหมือนลูกโป่งที่อัดอากาศเข้าไปเต็มที่แล้ว ไข่ไก่ก็เช่นกันครับเมื่อมันขยายตัวมากจนอุ้มอากาศไม่ไหวแล้วฟองอากาศที่ เกิดขึ้นก็จะแตกตัวออกแล้ว ส่วนผสมจะแห้งเหมือนโฟมฉีดผม ไม่เก็บกักอากาศอีกต่อไปแล้วครับ
เมื่อได้ Ribbon Stage แล้วให้หยุดตีเลยนะครับ ให้ยกหัวตีตะกร้อออกแล้วใช้ไม้พายไม้หรือไม้พายพลาสติกในการตะล่อมแป้งลงไป
ขั้นตอนนี้ก็สำคัญครับ เทคนิคการตะล่อมแป้งหรือ ที่ภาษาเบเกอรี่เรียก Folding คือ ค่อยๆใส่แป้งเค้กลงไปทีละน้อย ใช้ไม้พายค่อยๆตักส่วนผสมไข่มากลบแป้ง แล้วค่อยวนไปรอบๆอ่างผสม โดยตะล่อมรอบๆแล้ว วนไปกลับไปตะล่อมตรงกลางอ่าง เพื่อให้แป้งเค้กแตกตัวออกผสมกับไข่ ตรงนี้ต้องทำอย่างเบามือครับแล้วต้องคอยสังเกตว่ายังมีเม็ดแป้งที่ยังไม่แตก ตัวผสมกับไข่หรือไม่ หากยังมีเหลืออยู่ต้องทำให้เม็ดแป้งนั้นแตกตัวออก
ในขั้นตอนตะล่อมแป้ง หากเรารู้สึกว่าส่วนผสมของเราค่อนข้างแห้งก็ค่อยๆหยอดเนยละลาย หรือ นมสดผสมกับน้ำมันลงไปผสมสลับกับแป้งได้ครับ แต่ พึงระวังอุณหภูมิของเนยละลายด้วยครับ ไม่ควรจะร้อนจัด เพราะจะทำให้อากาศที่อยู่ในไข่แตกตัวออกได้ เค้กยุบอีกครับ ( โห ระวังกันทุกขั้นตอนเลยนะ…)
เมื่อเราผสมเนยละลายหรือ นมสด+น้ำมันพืชลงไปแล้ว ต้องคนให้ดีๆนะครับ อย่าให้เนยหรือนมสดไปกองอยู่ก้นอ่างล่ะ นี่ก็เป็นเหตุให้ขนมเค้กเรากลายเป็นขนมเข่งได้เช่นกันครับ จากนั้นก็เทส่วนผสมเค้กลงในพิมพ์ นำเข้าอบทันทีเลยครับ จะตั้งทิ้งไว้นานไม่ได้ครับ ยุบอีกเหมือนกัน ใช้เวลาอบ 30 นาทีพอดีครับ ลองเช็คว่าเค้กสุกดีหรือไม่ โดยใช้ไม้จิ้มฟัน ( ยังไม่ใช้แคะฟันทีนะจ๊ะ) จิ้มตรงกลางเนื้อเค้ก หากมีเศษเค้กหรือคราบเค้กแฉะติดออกมา แสดงว่ายังไม่สุก หากจิ้มแล้วไม่มีเศษเค้กติดออกมา ก็แสดงว่าสุกแล้วครับ
ก่อนเคาะเค้กออกจากพิมพ์ให้ เราเขย่าพิมพ์เล็กน้อยนะครับ เพื่อให้แน่ใจว่าเค้กไม่ติดพิมพ์ คว่ำเค้กลงบนตะแกรงลวด พักให้เย็นก่อนนำไปใช้งานต่อไป ไม่ควรทิ้งเค้กให้เย็นในพิมพ์เป็นอันขาดครับ เพราะจะทำให้เค้กของท่าน หด หด หด จนเหลือนิดเดียวแถมยังกระด้างอีกต่างหากนะครับ
ก่อนจบบทเรียนทำเค้กบทนี้ แนะนำว่าใจเย็นๆนะครับ เพราะสปองค์เค้กจะเป็นเรื่องที่ยากพอสมควรสำหรับมือใหม่ แต่หากได้ใช้เวลาฝึกฝนสม่ำเสมอก็จะทำได้ดี ทำเสียก็อย่าเพิ่งท้อ ถือเสียว่าซื้อประสบการณ์ แรกๆอาจจะได้ขนมเข่งแทนขนมเค้ก อิอิ ใครทำแล้วประสบปัญหาอย่างไรหลังไมค์มาถามได้นะครับ ยินดีให้คำแนะนำเสมอครับ

เทคนิคในการทำเค้กที่ควรรู้


เค้กมีหลายชนิดหลายรูปแบบดังที่ได้กล่าวมาแล้ว การทำเค้กแต่ละชนิดจะมีวิธีทำและส่วนผสมที่ต่างกัน บางชนิดก็มีวิธีการทำที่ซับซ้อน ซึ่งผู้ทำเค้กควรจะมีเทคนิคในการทำ คือ
1.ควร ร่อนแป้งทุกครั้งก่อนใช้ เพื่อให้อากาศแทรกเข้าไประหว่างเนื้อแป้ง ทำให้แป้งฟูเบา ช่วยให้แป้ง ที่จับเป็นก้อนเแยกตัวออก จะสังเกตุได้ว่าแป้งที่ร่อนแล้วกับแป้งที่ยังไม่ได้ร่อน แม้จะมีปริมาตรเท่ากันแต่จะหนัก ไม่เท่ากัน ดังนั้นในการทำเค้กในปัจจุบัน จะนิยมการชั่งมากกว่าการตวง ซึ่งทำให้ส่วนผสมแน่นอนกว่า แต่การ ชั่งก็ต้องร่อนแป้งทุกครั้งเช่นเดียวกัน
2.ไขมันในการทำเค้กใช้เนย หรือมาการีน ถ้าเป็นเนยสดก่อนใช้ควรนำออกจากตู้เย็นก่อนเพื่อจะตีได้ง่ายขึ้น ในการทำเค้กเพื่อให้มีลักษณะดีควรใช้เนยสดผสมมาการีนหรือเนยขาว จะทำให้เค้กเนื้อนุ่มมีลักษณะดี และมี ปริมาตรดีด้วย
3.ควรใช้น้ำตาล เม็ดละเอียดในการผสมเค้ก ถ้าใช้น้ำตาลเม็ดใหญ่อาจทำให้ละลายไม่หมด ทำให้เกิด ลักษณะเป็นจุด ๆ บนหน้าเค้ก ควรนำไปปั่นให้ละเอียดก่อนใช้
4.การ ตีส่วนผสม เค้กชนิดที่มีไขมันเป็นส่วนผสมหลัก ควรใช้พายยางปาดข้างอ่างผสมและที่ตีเสมอ ๆ เพื่อช่วยให้ส่วนผสมเข้ากันได้ง่ายขึ้น ควรหยุดเครื่องผสมทุกครั้งก่อนใช้พายปาด
5.ผงฟู ที่ใช้ในการทำเค้กควรใช้ผงฟูคุณภาพดี ถ้าผงฟูเก่าขนมเค้กจะมีขนาดและปริมาตรไม่เป็นไปตาม ที่ต้องการ
6.การ เติมไข่หรือส่วนผสมที่เป็นของเหลว ควรค่อย ๆ เติมลงไปทีละน้อย หรือแบ่งเติมทีละส่วน ไม่ควรใส่ หมดในคราวเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ไขมันแยกตัวออกจากส่วนผสม ทำให้เค้กที่ได้มีปริมาตรเล็ก และเนื้อ ขนมมีลักษณะไม่ดี
7.ในการผสม เค้กเนยในช่วงสุดท้าย มักเป็นการผสมนมหรือของเหลวอื่น ๆ ให้ใส่แป้งสลับกับนมโดย เริ่มต้นด้วยแป้งสลับนม และจบสุดท้ายด้วยแป้ง เพื่อให้ดูดซึมของเหลวบางส่วนไว้ และป้องกันการแยกตัวของ ไขมัน ในส่วนผสมอื่นอีกด้วย
8.ไข่ที่เหมาะสมสำหรับการทำเค้ก ควรใช้ไข่ไก่สด สปันจ์เค้กหรือชิฟฟ่อนเค้ก เพราะถ้าไข่สด ไข่ขาวจะ ข้น และไข่แดงรวมตัวเป็นก้อนกลมไม่เหลวหรือแตกง่าย
9.การตีไข่ขาว สำหรับเค้กชิฟฟ่อน ควรตีด้วยความเร็วสูงจนไข่เริ่มตั้งยอดอ่อน จึงใส่น้ำตาลแล้วตีต่อจน ไข่ขาวตั้งยอด ข้อควรระวังในการตีไข่ขาว อุปกรณ์เครื่องใช้เช่น อ่างผสม ที่ตีต้องสะอาด และแห้งสนิทไม่ เปื้อนไขมัน ไม่มีไข่แดงแตกปน
10.การอบเค้กทุกชนิด ควรจุดเตาอบให้อุณหภูมิของเตาอบได้ตามที่บอกไว้ตามตำรา ขณะอบขนมไม่ควร เปิดเตาอบดูขนมบ่อย ๆ การเปิดเตาอบแต่ละครั้งอุณหภูมิจะลดลงเพราะในขณะอบขนมอยู่ อากาศหรือก๊าซที่ อยู่ในเนื้อขนมจะขยายตัว เมื่อขนมสัมผัสอากาศจะทำให้เนื้อขนมยุบตัวได้ ถ้าเป็นระยะที่เนื้อขนมยังไม่แข็งตัว หรือยังไม่สุก
11.การทดสอบว่า เค้กที่อบสุกหรือยัง ทำได้โดยใช้ไม้ปลายแหลมจิ้มตรงกลางขนม ถ้าไม่มีเนื้อเค้กติดไม้ ออกมาแสดงว่าสุกแล้ว หรือใช้นิ้วมือแตะหน้าขนมเบา ๆ ถ้าไม่เป็นรอยนิ้วที่แตะก็ใช้ได้ หรือสังเกตว่าขอบขนม ร่อนออกจากพิมพ์โดยรอบ มีสีเหลืองสวย
12.การอบเค้ก ควรวางพิมพ์ให้อยู่กึ่งกลางเตาอบให้มากที่สุด เมื่อต้องการอบพร้อมกันหลาย ๆ พิมพ์ ควร จัดวางพิมพ์ให้ห่างกันประมาณ 1 นิ้ว ไม่ควรวางพิมพ์ชิดกันหรือติดผนังเตาอบ

สาเหตุที่ทำให้เค้กเสียและวิธีการแก้ไข


การทำเค้กที่ดีจะต้องอาศัยเทคนิคแล้วยังต้องมีประสบการณ์ สัดส่วนและสิ่งที่ทำอย่างถูกต้อง ข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นเสมอและวิธีแก้ไขดังนี้
1.เค้กหน้าไม่เรียบ ฟู และแตก วิธีแก้ไข ก็คือใช้ที่ปาด แตะน้ำมันพืชทาบนเนื้อขนมก่อนเข้าอบ
2.เค้กยุบตรงกลางเป็นเพราะอุณหภูมิในการอบไม่ถูกต้องใช้ไฟอ่อนหรือไฟแรง เกินไป ควรปรับอุณหภูมิให้ถูกต้อง หรืออาจใส่ผงฟูหรือน้ำตาลมากเกินไป เป็นเพราะเคลื่อนย้ายเค้ก หรือเปิดเตาอบขณะเค้กกำลังขึ้น
3.ผิวหน้าเค้กแฉะ เป็นเพราะอบไว้ไม่สุกดี วิธีแก้ไขควรอบให้สุก ตรวจสอบอุณหภูมิของเตาอบ
4.เค้กที่มีรูใหญ่ๆ เป็นเพราะส่วนผสมแห้งเกินไป ผสมกันไม่ทั่ว เทเค้กลงในพิมพ์ไม่ต่อเนื่อง วิธีแก้ไขควรผสมให้เข้ากันอย่างทั่วถึง เทเค้กลงพิมพ์ให้ต่อเนื่องกัน ไล่อากาศก่อนเข้า เตาอบโดยเคาะพิมพ์เบาๆ หรือใช้พายยางลากไปมาในเนื้อขนมก่อนนำเข้าเตาอบ
5.เนื้อเค้กแห้ง เป็นเพระตีไข่ขาวนานเกินไป หรืออบนานเกินไปวิธีแก้ไขควรตีไข่ขาวถึงจุดที่ต้องการเท่านั้นไม่ควรอบนาน เกินไปตรวจสอบอุณหภูมิอย่างถูกต้อง

14 ข้อที่ควรระวังในการทำเค้ก



1.แป้งต้องนำมาร่อนก่อนทุกครั้งจึงค่อยตวง
2.ในการร่อนส่วนผสมแต่ละครั้งต้องร่อนผงฟู แป้ง และเกลือรวมกัน
3.การตวงต้องตวงให้พอดีกับช้อนตวง ไม่พูนขึ้นมา
4.การคนน้ำตาลและเนย ต้องคนให้เข้ากันเป็นเนื้อครีมก่อนจะใส่ไข่ ในการคนไข่ต้องคนให้เข้ากันดี
5.ในการคนส่วนผสมต้องคนให้เข้ากันก่อน โดยวิธีการตะล่อมๆ คนพลิกจากข้างล่างมาข้างบน แล้วจึงใส่นมตาม คนให้เข้ากันแล้วจึงใส่แป้งโดยต้องค่อยๆใส่ทีละน้อยๆ
6.ถาดที่ใส่ส่วนผสมในการอบ ต้องปูด้วยกระดาษก่อนแล้วจึงค่อยทาเนยก่อนเทส่วนผสมใส่ทุกครั้ง
7.การเทขนมลงในพิมพ์ ควรเทขนมเพียงค่อนของพิมพ์ เพราะเวลาอบขนมจะพองตัวขึ้นเต็มพิมพ์พอดี แล้วจึงใช้ไม้เขี่ยให้ถึงพื้นพิมพ์เพื่อไล่อากาศออก
8.ติดเตาอบตั้งไฟให้ถึงความร้อนตามที่ตำราบอกก่อน จึงจะใส่ขนม เมื่อขนมสุกจะมีสีน้ำตาลทอง ขนมจะหดตัวร่อนจากขอบพิมพ์ จึงเอาออกจากเตาวางบนตะแกรง และค่อยๆเลาะเอากระดาษออก
9.นมที่ใช้ต้องเป็นนมสดเท่านั้น หรือถ้าจะใช้นมข้นจืด (นมระเหย) ต้องเติมน้ำอีกเท่าตัว แต่ทางที่ดีควรใช้นมสดจะดีกว่า
10.น้ำตาลที่ใช้ต้องเป็นน้ำตาลทรายป่น หรือน้ำตาลทรายป่นละเอียด เพื่อในการผสมส่วนผสมจะละลายง่าย
11.น้ำตาลไอซิ่ง คือ น้ำตาลทรายผงละเอียดที่ผสมแป้งข้าวโพดหรือแป้งมัน ใช้ในการแต่งหน้าเค้ก หรือโรยหน้าขนมปัง
12.ไข่ที่ใช้หมายถึงไข่ไก่ทั้งฟอง ถ้าตำราระบุว่าใช้ไข่แดง คือไข่แดงที่แยกไข่ขาวออกแล้ว
13.โกโก้ผงละเอียดเมื่อผสมน้ำแล้วเรียกว่า ช็อกโกแลต
14.กลิ่นที่นิยมใช้ในการทำขนมคือ กลิ่นวานิลา กลิ่นส้ม กลิ่นกล้วย กลิ่นกาแฟ กลิ่นบรั่นดี กลิ่นช็อกโกแลต กลิ่นอลามัน ดังนั้นจึงควรมีกลิ่นพวกนี้ไว้ใช้ได้ตลอดเวลา

ช็อคโกแลตลาวา (ลาวาเค้ก) Chocolate Lava Cake


  วัตถุดิบ
1. แป้งสาลีอเนกซ์ประสงค์ ½ ถ้วย
2. ช็อคโกแลตแท่ง 120 กรัม
3. ไข่ไก่ 4 ฟอง
4. น้ำตาลทราย ½ ถ้วย
5. เนยเค็ม 120 กรัม
6. เนยขาว 2 ชต. (เอาไว้ทาพิมพ์)
7. ไอซ์ซิ่ง 2 ชต. (เอาไว้โรยตกแต่ง)
8. น้ำตาลทราย 2 ชต. (เอาไว้เคลือบพิมพ์)
9. ไอศกรีมวนิลา 1 ลูก

 วิธีการทำ
  1.นำช็อคโกแลตไปตุ๋นให้ละลาย จากนั้นเติมเนยเค็มลงไป คนให้เข้ากันด้วยตะกร้อมือ พักไว้ให้เย็น
2.ผสมไข่ไก่ ,น้ำตาลทราย ตีให้ขึ้นฟูและน้ำตาลละลายจนหมด
3.ค่อยๆเติมแป้งลงไปผสมให้เข้ากัน จากนั้นจึงค่อยเติมช็อคโกแลตตุ๋นลงไปทีละน้อย จะผสมเป็นเนื้อเดียวกัน
4.ทาเนยขาวให้ทั่วพิมพ์ และเคลือบด้านในพิมพ์ด้วยน้ำตาลทราย
5.หยอดส่วนผสมลงพิมพ์ ¾ พิมพ์ นำเข้าเตาอบที่อุณหภูมิ 200 องศา. ใช้เวลาอบ 10 นาที
6.คว่ำถ้วยพิมพ์ใส่จาน แล้วแกะพิมพ์ออกมา โรยหน้าด้วยไอซ์ซิ่งใช้มีดตัดตัวช็อกโกแลตเล็กน้อยครึ่งนึง
เสริฟ์คู่ไอศกรีมวนิลาเป็นอันเสร็จ

บัตเตอร์เค้ก Butter Cake (เค้กเนยสด)


วัตถุดิบ
แป้งเค้ก 100 กรัม
ผงฟู ½ ชช.
ไอซ์ซิ่ง 80 กรัม
ไข่ไก่ 2 ฟอง
เนยละลาย 120 กรัม
โอวาเล็ต 1/ 2 ชต.
นมสด ½ ถ้วย
เกลือ ½ ชช.
กลิ่นนมเนย 1 ชช.

วิธีการทำ
1. ร่อนแป้ง , ไอซ์ซิ่ง ,เกลือ , ผงฟู เข้าด้วยกัน พักไว้ก่อน
2. นำไข่ไก่ ,นมสด , กลิ่นนมเนย , โอวาเล็ต , แป้งที่ร่อนแล้ว ตีรวมกันด้วยความเร็วสูงสุด 5 นาที
3. ลดความเร็วลงต่ำสูง เติมเนยละลายลงไปทีละน้อย (ระหว่างนี้ต้องคอยปาดด้านข้างโถด้วยค่ะ)
4. ทาเนยขาวในพิมพ์กรุกระดาษไขให้ทั่วพิมพ์เค้ก เทเค้กลงไปเกลี่ยหน้าให้เนียน เคาะเค้กเบาๆ 2 – 3 ครั้ง นำเข้าอบที่อุณหภูมิ 180 องศา 30 นาที
5. เมื่อเค้กสุกดีแล้ว ดึงกระดาษไขออกคว่ำหน้าเค้กลงบนตะแกรงและพักไว้
เมื่อเค้กเย็นตัวดีแล้ว ตัดเสริฟ์เป็นชิ้น หนา 1 ½ ซม.

เค้กช็อคโกแลต Chocolate Cake


ส่วนผสมตัวเค้ก
เนยจืดหั่นเต๋า 150 กรัม
ไข่ไก่ 3 ฟอง
แป้งเค้ก 150 กรัม
เกลือ ½ ชช.
ผงฟู 1 1/2 ชช.
ไอซ์ซิ่ง 120 กรัม
นมสด ½ ถ้วย
ผงโกโก้ 3 ชต.
กลิ่นวนิลา 1ชช.
ส่วนผสมแต่งหน้าเค้ก
วิปปิ้งครีม 100 มล.
เนยจืดหั่นเต๋า 100 กรัม
ช็อคโกแลตแท่ง 400 กรัม (หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ)

วิธีทำ
1.ต้มน้ำในหม้อให้เดือด วางชามสแตนเลสซ้อนลงไป เทช็อคโกแลต , เนย , วิปปิ้งครีม ลงในชามแตนเลส ตั้งทิ้งไว้จนละลายเข้ากันดี ประมาณ 10 นาที จากนั้นพักไว้ให้เย็น
2.ร่อนแป้ง ,เกลือ , ผงฟู เข้าด้วยกัน พักไว้ก่อน
3.ตี เนยให้ขึ้นฟูด้วยความเร็วสูงสุด เติมไอซ์ซิ่งลงไปทีละน้อย เมื่อเนยขึ้นฟูดีแล้ว เติมไข่ไก่ลงไปครั้งละ 1 ฟอง ตามด้วยกลิ่นวนิลา ลดความเร็วลงเติมผงโกโก้ลงไป ตามด้วยเติมแป้งที่ร่อนแล้วลงไปทีละน้อย สลับกับเติมนมทีละน้อย เติมจนนมและแป้งหมด
4.ทาเนยขาวในพิมพ์กรุกระดาษไข ให้ทั่วพิมพ์เค้ก ตะล่อมแป้งเค้กเบาๆในทิศทางเดียวกัน เทเค้กลงไปเกลี่ยหน้าให้เนียน นำเข้าอบที่อุณหภูมิ 180 องศา 40 นาที
5.เมื่อเค้กสุกดีแล้ว ดึงกระดาษไขออกคว่ำหน้าเค้กลงบนตะแกรงและพักไว้
ให้เค้กเย็นตัวดีเสียก่อน
6.ตัดหน้าเค้กออกให้เรียบ ปัดเศษเค้กออกให้หมด ราดหน้าด้วยช็อคโกแลตละลาย
จนเคลือบทั่วตัวเค้ก ตกแต่งหน้าตาเค้กด้วยสตอเบอรี่เคลือบช็อคโกแลต

เค้กสตอเบอรี่ (Strawberry Cake )


วัตถุดิบ
ส่วนผสมตัวเค้ก
เนยจืดหั่นเต๋า 100 กรัม
ไข่ไก่ 2 ฟอง
แป้งเค้ก 100 กรัม
เกลือ ½ ชช.
ผงฟู 1 ชช.
ไอซ์ซิ่ง 80 กรัม
นมสด ½ ถ้วย
กลิ่นวนิลา 1ชช.
ส่วนผสมแต่งหน้าเค้กวิปปิ้งครีม 300 มล.
ไอซ์ซิ่ง 70 กรัม
เกลือ ½ ชช.
กลิ่นวนิลา 1 ชช.
สตอเบอรี่ 1 ถ้วย (หั่นสไลด์)
สตอเบอรี่ 5 ลูก
วิธีการทำ
1.ร่อนแป้ง , เกลือ , ผงฟู เข้าด้วยกัน พักไว้ก่อน
2.ตีเนยให้ขึ้นฟู ค่อยๆเติมไอซ์ซิ่งลงไป ตีด้วยความเร็วสูงสุด ประมาณ 5 นาที
3.เติมไข่ไก่ลงไปทีละ 1 ฟอง ตีให้เข้ากันดีแล้วจึงค่อยเติมกลิ่นวนิลาลงไป
4.ลดความเร็วลงต่ำสุด เติมแป้งที่ร่อนแล้วลงไปทีละน้อย สลับกับเติมนมทีละะน้อย เติมจนนมและแป้งหมด
5.ทาเนยขาวในพิมพ์กรุกระดาษไขให้ทั่วพิมพ์เค้ก เทเค้กลงไปเกลี่ยหน้าให้เนียน
6.นำเข้าอบที่อุณหภูมิ 180 องศา 30 นาที
7.ตี วิปปิ้งครีมด้วยความเร็วสูงสุดจนขึ้นฟู (ต้องนำวิปปิ้งครีมไปแช่ในช่องฟรีซ 30 นาที ก่อนจะนำมาตีให้ขึ้นฟู ไม่อย่างนั้นจะตีไม่ขึ้น)
8.เติมเกลือ และไอซ์ซิ่ง , กลิ่นวนิลาลงไป เมื่อผสมจนครีมขึ้นฟูดีแล้ว นำเข้าตู้เย็นพักไว้ก่อน (ถ้าอยู่ในอุณหภูมิห้อง วิปปิ้งครีมจะยุบตัว)
9.เมื่อเค้กสุกดีแล้ว ดึงกระดาษไขออกคว่ำหน้าเค้กลงบนตะแกรงและพักไว้
10.ตัดเค้กแบ่งเป็น 2 ชั้น ปาดครีมเค้กบางๆบนเค้กชั้นที่ 1 จัดเรียงสตอเบอรี่
สไลด์ลงไปให้ทั่วเค้ก
11.วางเค้กชั้นที่ 2 ลงไป ปาดครีมให้ทั่วหน้าเค้ก บีบครีมด้วยหัวบีบรูปดาว รอบๆเค้ก ตกแต่งด้วยสตอเบอรี่สด เป็นอันเสร็จ


ประวัติของ “ขนมเค้ก”


     เค้กเป็นคำที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน (เป็นคำที่มาจากไวกิ้งจากเดิมนอร์ส Kaka) และหมายถึงขนมแป้งอบหวานด้วยน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง; มัน มีการผสมกับไข่และมักจะ แต่ไม่คงเส้นคงวา, กับนมและไขมัน และมันมีเนื้อมีรูพรุนจากส่วนผสมที่เพิ่มขึ้นในระหว่างการปรุงอาหาร ไม่น่า แปลกใจว่าเขตแดนระหว่างเค้กและขนมปังบิสกิตและขนมปังจะไม่ชัด ต้นกำเนิดของ ทั้งหมดเป็นขนมปังในรูปแบบง่ายที่สุด เป็นเทคนิคสำหรับการอบและการพัฒนาหัว เชื้อและการรับประทานอาหารรูปแบบการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ถูกมองว่าเดิมเป็น froms ของขนมปังมาให้เห็นเป็นหมวดหมู่ของตัวเองและตั้งชื่อตาม ขนมปังโรมัน บางอย่างอุดมไปด้วยไข่และเนย, จะต้องมีความสอดคล้อง cakelike และเข้าหาจึงเป็นหนึ่งในเขตแดนคลุมเครือเหล่านี้
ยุโรปและสถานที่เช่นทวีปอเมริกาเหนือที่มีอิทธิพลต่อ ยุโรปมีความแข็งแกร่งได้เสมอศูนย์กลางของเค้ก หนึ่งก็อาจจะวาดเส้นมากขึ้น แน่น fourn พื้นที่ที่พูดภาษาอังกฤษ ไม่มีภาษาอื่น ๆ ที่มีคำว่าหมายถึงตรงเช่นเดียวกับภาษาอังกฤษเป็น’เค้ก.’ ทวีปยุโรปและ Torte gateau มักจะมีสัดส่วนที่สูงขึ้นของไข่, เนยและส่วนผสมที่สมบูรณ์เช่นช็อคโกแลตและมักจะยัน rathern ขนมเค้ก towaars กว่า ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงรายการในยุโรปเช่น Baba และอีสเตอร์ kulich จะแตกต่างกันเช่นเดียวกัน
ประเพณีตะวันตกของเค้กใช้เล็ก ๆ น้อย ๆ ในเอเชีย ในบางประเทศเค้กสไตล์ตะวันตกได้รับการรับรองในระดับเล็กๆ ตัวอย่างเช่นเค้กฟองน้ำเล็ก ๆ เรียกว่า kasutera ในประเทศญี่ปุ่น แต่’ขนมเค้ก’ซึ่งเป็น imporant ในเอเชียมีค่อนข้างแตกต่างจากสิ่งที่ตะวันตกสำหรับตัวอย่างให้ดูขนมไหว้พระจันทร์และเค้กข้าวจากประเทศฟิลิปปินส์
ประวัติของขนมเค้กไปทางยาวกลับ ในหมู่ผู้ที่ยังคงพบว่า ในหมู่บ้านมีทะเลสาบสวิสเซอร์แลนด์เค้กน้ำมันดิบทำจากกำไรจากการบดประมาณ ชุบ, บดอัดและการปรุงบนหินร้อน ขนมเค้กดังกล่าวสามารถถือเป็นรูปแบบของขนมปังไร้ เชื้อที่เป็นสารตั้งต้นของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของอบที่ทันสมัย​​จากยุโรป ผู้ รอดชีวิตบางคนที่ทันสมัย​​ของผสมเหล่านี้ยังคงไปด้วย’เค้ก’ชื่อสำหรับการ oatcakes เช่นแม้ว่าเหล่านี้จะ considreed ตอนนี้จะใกล้ชิดกับบิสกิตโดยอาศัยอำนาจของแบนบางรูปร่างของพวกเขาและเนื้อ เปราะ
อียิปต์โบราณเป็นวัฒนธรรมคนแรกที่แสดงหลักฐานของความ สามารถที่แท้จริงใน bakin ทำให้หลายชนิดรวมทั้งบางส่วนขนมปังหวานกับเหลา ชาวกรีกที่มีรูปแบบของขนม เค้กเนยแข็งและชาวโรมันที่พัฒนาขึ้นรุ่นแรกของ fruitcakes กับลูกเกด, ถั่วและผลไม้อื่น ๆ เหล่านี้สิ้นสุดลงในศตวรรษที่ 14 สหราชอาณาจักร Chaucer กล่าวถึงการทำเค้กอันยิ่งใหญ่สำหรับโอกาสพิเศษ หนึ่งได้ถูกทำให้มี 13 กิโลกรัมของแป้งและเนยที่มีอยู่, ครีม, ไข่, เครื่องเทศและน้ำผึ้ง currants
แม่พิมพ์ในรูปแบบของห่วงเค้กหรือกระทะที่ได้รับการ ใช้สำหรับการขึ้นรูปขนมเค้กอย่างน้อยตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 17 เค้กส่วนใหญ่ถูกกินพร้อมกับแก้วไวน์หวานหรือน้ำชา ที่จัดงานเลี้ยงขนาด ใหญ่, เค้กตกแต่งอย่างประณีตอาจเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงผล แต่อาจจะไม่ได้กิน โดยช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ฝรั่งเศสได้รวมทั้งที่แยกจากกันแน่นอน”หวาน”ที่ส่วนท้ายของอาหารซึ่งอาจรวม ถึงที่’gateau.’
ระหว่างศตวรรษที่ 19, เทคโนโลยีการผลิตชีวิตเค้กขนมปังได้ง่ายขึ้นมาก สารเคมีที่มีการเพิ่มตัวแทน ไบคาร์บอเนตของโซดานำมาใช้ใน 1840, ตามด้วยผงฟู (ผสมแห้งของไบคาร์บอเนตของโซดากับกรดอ่อน), ยีสต์แทนที่หัวเชื้อให้อำนาจมากขึ้นด้วยความพยายามน้อย การพัฒนาเทคโนโลยี อีกอย่างคือเตาอบ accuate มากขึ้นมีการควบคุมอุณหภูมิ
ในส่วนของตะวันตกเฉียงเหนือทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ เป็นประเพณีทั้งการพัฒนาของอบบ้านมีชีวิตอยู่กับละครใหญ่ของเค้กสูตรที่ พัฒนามาจากวิธีการพื้นฐาน abililty การอบเค้กที่ดีที่ได้เป็นสกิล prized ในหมู่แม่บ้านในช่วงต้นถึงกลางศตวรรษที่ 20 เมื่อหลายครัวเรือนสามารถผลิตได้ง่ายที่แข็งแกร่งกรอก’ตัดและมาใหม่อีก ครั้ง’เค้ก, implying ความอุดมสมบูรณ์และการต้อนรับขับสู้
ถึงแม้ว่าความนิยมของอบบ้านและบทบาทของขนมเค้กในอาหาร ที่มีทั้งการเปลี่ยนแปลงในช่วงศตวรรษที่ 20, เค้กยังคงแพร่หลายเกือบจะในโลกตะวันตก พวกเขาได้เก็บภาพของพวกเขาเป็น’ถือ ว่า’และยังคงรักษาความสำคัญของพวกเขาที่ทำพิธีแต่งงานและวันเกิด

ประโยชน์ของเค้ก


เค้ก เป็นขนมอบที่มีลักษณะ รูปร่าง ตามความต้องการของผู้ผลิต แต่มีส่วนประกอบของแป้งสาลี น้ำตาล ไข่ นม ไขมัน และสิ่งปรุงแต่งให้เกิดชนิดของเค้ก เช่น ผลไม้ต่าง ๆ ดังนั้นเค้กจึงเป็นขนมที่ให้ประโยชน์กับผู้บริโภค โดยได้รับสารอาหาร คือ แป้ง น้ำตาล ให้สารอาหาร คาร์โบไฮเดรท ซึ่งเป็นสารอาหารที่ทำให้เกิดพลังงานแก่ร่างกายไข่ นม ให้สารอาหาร โปรตีน ซึ่งเป็นสารอาหารที่สร้างเซลล์เนื้อเยื่อให้กับร่างกาย เนย ไขมัน ให้สารอาหารไขมัน ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยในการหล่อลื่นและทำให้ผิวพรรณสดชื่น นอกจากนั้นเด็กยังสามารถนำไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ เช่น วันมงคลสมรส วันเกิด ปีใหม่ และสามารถจัด รับประทานเป็นอาหาร น้ำชา กาแฟด้ว

การทำเค้กแบบต่างๆ


เค้ก เป็นขนมอบที่มีลักษณะรูปร่าง ตามความต้องการของผู้ผลิต มีส่วนประกอบของแป้ง น้ำตาล ไข่ นม และสิ่งปรุงแต่งต่างๆ เช่น ผลไม้ วุ้น ดังนั้นเค้กจึงเป็นขนมที่ให้ประโยชน์กับผู้บริโภคมากมายและยังเป็นสิ่งที่ใช้ในงานโอกาสพิเศษต่างๆหากหลายงาน ในขณะที่อีกทางหนึ่ง หาผู้บริโภคนั้นได้บริโภคเค้กมากเกินขนาด ก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ นั่นคือ โรคอ้วนนั่นเอง
ดังนั้น ผู้จัดทำจึงต้องการชี้ให้คนที่ชอบบริโภคเค้กได้เห็นถึง คุณประโยชน์และโทษของเค้กว่ามีอย่างไรบ้าง และทางผู้จัดทำก็ยังได้นำเสนอ เค้กแบบต่างที่น่าสนใจและร้านเค้กน่าสนใจแต่ละที่ ให้ผู้บริโภคได้ค้นหาและลองทำไปรับประทานเองที่บ้านหรือเป็นของขวัญให้แก่คนอื่นอีกด้วย